ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




อาหารออร์แกนิค ,,,ดีจริงหรือ?

 

                                                                                    อาหารออร์แกนิค ,,,ดีจริงหรือ?

ในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมาระบบการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารล้วนได้รับ อิทธิพลจากกระแสทุนนิยมและส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อวิถีชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จากเกษตรกร กระบวนการผลิต จนถึงการกระจายสินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างเราๆ ล้วนมีอันตรายจากสารปนเปื้อนในหลายๆ กระบวนการจนกลายเป็นเรื่องปกติและกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปแล้ว

เมื่อ ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้ผู้คนในยุคนี้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว รวมถึงข่าวสารข้อมูลถึงความไม่ปลอดภัยในคุณภาพของอาหาร ทำให้ผู้คนในยุคนี้หันมาให้ความสนใจในรายละเอียดในคุณภาพอาหารและคุณภาพ ชีวิตมากขึ้น หลายคนหันมาตื่นตัวกับกระแสบริโภคอาหารอินทรีย์ ( Organic Food ) โดยเฉพาะผู้บริโภคในแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ กลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเปรียบเทียบจากยอดซื้อขายของผู้บริโภคในปี ค.ศ. 1997 กับปี ค.ศ. 2011 ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก 3.6 พันล้านไปเป็น 24.4 พันล้าน และแม้กระทั่งรัฐบาลไทยเองยังกำหนดให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยตั้งเป้าว่าในปี 2552 ไทยต้องทำเกษตรอินทรีย์ให้ครอบคลุมพื้นที่ 85 ล้านไร่ จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 131 ล้านไร่ทั่วประเทศเลยทีเดียว


อาหารออร์แกนิค ที่กล่าวมาข้างต้นหมายถึง อาหารที่ผ่านการผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือแม้กระทั่งยาปฏิชีวนะ หรือ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต

 

 

จากการที่ผู้บริโภคที่หันมาจับจ่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคมากขึ้น วันนี้มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา จึงได้ทำงานวิจัยเพื่อที่จะได้เพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรืออา หารออร์แกนิคมากขึ้น
สมิธ-สแปงเกลอร์ และคณะผู้วิจัย จึงได้ทบทวนผลการศึกษากว่า 230 ฉบับ ซึ่งเปรียบเทียบสุขภาพของคนที่ทานอาหารออแกนิค กับคนที่ทานอาหารทั่วไปที่ไม่ใช่ออร์แกนิค พร้อมทั้งเปรียบเทียบระดับสารอาหาร สิ่งปนเปื้อนในอาหาร ประเภท ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ และนม

                ทีมนักวิจัยพบว่า ปริมาณวิตามินในผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคนั้น แทบไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ฟอสฟอรัส ซึ่งผลิตภัณฑ์ออแกนิคมีปริมาณมากกว่าเพียงเล็กน้อย ส่วนสารอาหารในกลุ่มโปรตีนและไขมันในนม พบว่า ไม่ว่าจะนมออร์แกนิคหรือนมทั่วไปนั้นก็มีปริมาณสารอาหารประเภทโปรตีนและ ไขมันไม่ต่างกัน แต่ก็มีบางการศึกษาที่บอกว่า ในนมออร์แกนิคมีกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่า แต่เนื่องด้วยมีหลักฐานการศึกษาที่น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด

                นอกจากนี้ อาหารออร์แกนิคจำพวก ผัก ผลไม้ จะมีความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลงต่ำกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับพืชผักที่ปลูกแบบปกติ ขณะที่หมู และไก่อินทรีย์ นั้นมีสารต้านแบคทีเรียน้อยกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไป 33%แต่แม้ว่าจะไม่ใช่อาหารออร์แกนิคก็ตาม ก็ไม่พบสารฆ่าแมลงตกค้างเกินกว่าข้อจำกัด ดังนั้นจึงไม่อาจสรุปได้อย่างชัดเจนว่าความแตกต่างของสารตกค้างจะมีผลกระทบ ต่อสุขภาพหรือไม่

                จากงานวิจัยนี้ทำให้พบความจริงที่ว่า จริงๆ แล้ว อาหารออร์แกนิคกับอาหารโดยปกติทั่วไปที่ไม่ได้เขียนว่า "ออร์แกนิค" นั้น แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยในแง่ของคุณค่าทางอาหาร และไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงในด้านสุขภาพลดลงแต่อย่างใด แม้ว่าการบริโภคอาหารออร์แกนิคจะสามารถลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารกำจัด ศัตรูพืชได้ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาอื่นๆ ระบุว่า จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสำรวจความแตกต่างทางด้านสุขภาพและความ ปลอดภัยระหว่างอาหารออแกนิค กับอาหารทั่วไป ซึ่งเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปว่าอาหารอินทรีย์ไม่ได้ดีต่อสุขภาพไปกว่าอาหาร ธรรมดาเลย

                ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาในด้านคุณค่าทางอาหารว่า อาหารออร์แกนิค ไม่ได้มีสารอาหารมากกว่าอาหารธรรมดาทั่วไปแต่อย่างใด แต่อย่าลืมว่า ปริมาณสารตกค้างที่เกิดจากการใช้ยาฆ่าแมลงในประเทศไทยในสินค้าบางชนิดนั้น ยังมีค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังที่มีข่าวออกมาให้พบเห็น ได้ยินและได้ฟังกันบ่อยๆ เพราะฉะนั้นก่อนจะนำผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์มาประกอบอาหาร หรือรับประทาน ควรจะล้างให้สะอาด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่ว่าอาหารนั้นจะเป็นอาหารออร์แกนิคหรือไม่ก็ตาม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Sciencedaily.com, Asia Pacific Food Industry Thailand และ Green.in.th

ขอขอบคุณ  : http://www.vcharkarn.com/varticle/44079




บทความน่ารู้ 2

น้ำอัดลม Vs น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล)
อย. ตรวจพบน้ำแข็งหลอดย่านวัชรพล เลขสารบบอาหาร 10-1-05341-1-0001 พบเชื้อโคลิฟอร์ม และ อี.โคไล ระวังเสี่ยงท้องร่วง
รอบรู้เรื่องไข่ กินแล้วดีมีประโยชน์
แอฟลาทอกซิน สารพิษจากเชื้อราในอาหารแห้ง
เลือกบริโภคอย่างฉลาดด้วยฉลาก หวาน มัน เค็ม
อย. ตรวจพบกรดเบนโซอิกเกินค่าความปลอดภัย ในโบโลน่าแซนวิช
อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม
มารู้จักฟอร์มาลีนกันเถอะ
อย. เตือนระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนประกอบของกระท่อม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐาน ในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกกล้วยแช่แข็ง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยช่วงเทศกาลกินเจ
สารกันบูดในอาหาร
กรมวิทย์ฯ เผยผลตรวจอาหาร น้ำ และเครื่องดื่มจากอาศรมฤาษีพระบิดาที่ จ.ชัยภูมิ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในวุ้นเส้นสด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยน้ำมะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
กรมอนามัย เตือน กินปลาหมึกชอต ระวัง ‘แบคทีเรีย-พยาธิ’ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า
ทำความรู้จักอันตรายในอาหาร
กัญชา กัญชงที่ผลิตในประเทศ ส่วนไหนเป็น - ส่วนไหนไม่เป็นยาเสพติด
รับประทานซีอิ๊วขาวมีโซเดียมน้อยกว่าน้ำปลา จริงหรือ?
กัญชา VS กัญชง
โซเดียม
อย. แนะนำดื่มน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด
กาเฟอีน ปริมาณสูง อันตราย
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ศัตรูตัวร้าย แฝงอันตรายในน้ำใส
อย. เตือน "ซูชิเรืองแสง" อาจเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
บังคับใช้กฎหมาย"ไขมันทรานส์"ดีเดย์ 9ม.ค.62 ชาติแรกในอาเซียน
สารพิษโบทูลินัม และเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม ในน้ำปลา
สุ่มตรวจช็อกโกแลต พบสารปนเปื้อนตะกั่ว
เชื้อก่อโรคใน ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
ข้อมูลอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้สำหรับอาหารที่ไม่อยู่ในภาชนะบรรจุ
เชื้อก่อโรคในซูชิ
น้ำตาลที่ซ่อนอยู่
ขมิ้นขาวช่วยระบบย่อยไม่ดี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคงตัวของ Anthocyanin
ไอศกรีมโฮมเมด
เช็คสัญญาณอาหารหมดอายุ
สุดยอดอาหารเพื่อสมองปราดเปรื่อง
อะไรเอ๋ยอยู่ในน้ำ ?
ลดเสี่ยงติดเชื้อหน้าร้อน ยึดหลัก 'มีอยู่-เหลือรอด-ปนเปื้อนและเจริญของเชื้อโรค'