ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




สารก่อภูมิแพ้ที่ระบุบนฉลากอาหาร article

 

สารก่อภูมิแพ้ที่ถูกระบุบนฉลากอาหาร

 

ในเดือนเมษายนปีนี้ปักกิ่งเริ่มให้ผู้ประกอบการอาหารระบุสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ตามระเบียบฉลากอาหารแห่งชาติ และคุณ Fan Yongxiang ได้กล่าวว่ามาตรฐานใหม่นี้จะบังคับใช้ทั่วประเทศและเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนได้รวมสารก่อภูมิแพ้ในกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยอาหารของสถาบันทางด้านโภชนาการและความปลอดภัยอาหารแห่งชาติอย่างเป็นทางการภายใต้ศูนย์กลางการควบคุมและป้องกันโรคของจีน ตามที่คุณ Jianqin ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการของโรงพยาบาล Shanghai-based Huadong ร่วมกับมหาวิทยาลัย Fudan ได้รายงานว่าผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 1-2 ทารกและเด็กเล็กประมาณร้อยละ 5 ได้รับความทุกข์ทรมานจากการแพ้อาหาร ซึ่งประเทศจีนไม่มีสถิติของโรคภูมิแพ้อาหารที่อันตรายถึงชีวิต มีแต่สถิติที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอาไว้ว่าพบผู้เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินประมาณ 30,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากการแพ้อาหาร 150 คนในแต่ละปี

การแพ้อาหารเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อโปรตีนในอาหาร โดยปกติผู้ป่วยจะแสดงอาการเฉียบพลันร่วมกับการอาเจียน ท้องเสีย และโรคหอบหืด ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต ศาสตราจารย์เฉิน  Yuzhi จากคลินิกและศูนย์การศึกษาโรคหอบหืดภายใต้กองทุนสถาบันกุมารเวชศาสต​​ร์ได้กล่าวว่าบางรายแพ้อาหารบางอย่างในวัยเด็กและเมื่ออายุมากขึ้นก็มีอาการดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของแต่ละคน ดังนั้นทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ เพราะปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่แพ้อาหาร กลุ่มอาหารหลัก 8 ชนิดที่ก่อให้เกิดการแพ้ซึ่งต้องควบคุมคือธัญพืชจากข้าวสาลี หอย ปลา ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง นม และถั่วเปลือกแข็ง

คุณ Dong Jinshi ซึ่งเป็นรองประธานบริหารของสมาคมอาหารบรรจุภัณฑ์ระหว่างประเทศกล่าวว่าผลิตภัณฑ์อาหารต่างชนิดกันอาจใช้สายการผลิตเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าอาจมีส่วนผสมปริมาณเพียงเล็กน้อยจากผลิตภัณฑ์หนึ่งปนเปื้อนเข้าไปในผลิตภัณฑ์อื่นได้ แม้ว่าจะมีการล้างสายการผลิตแล้ว และอาจเกิดจากการเก็บวัตถุดิบสองชนิด เช่น ไก่และปลาไว้ในตู้แช่เดียวกัน โดยคุณ Shen Wei ซึ่งเป็นบิดาของเด็กอายุ 7 ปีที่แพ้ปลากล่าวว่ากฎระเบียบนี้จะช่วยป้องกันเด็กและผู้บริโภคอื่นที่แพ้อาหารได้ ซึ่งลูกชายก็มีรอยที่ผิวเป็นก้อนและปวดศีรษะทุกครั้งที่บริโภคปลา นอกจากนี้ผู้พักอาศัยในเซี่ยงไฮ้ที่มีอายุ 35 ปีกล่าวว่าการออกกฎระเบียบนี้เป็นขั้นตอนของการเดินหน้าเพื่อการป้องกันสุขภาพของผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยผู้ประกอบการอาหารต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวจีนและตลาดผู้ผลิตปัจจุบันไม่คุ้นเคยกับฉลากของอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังเช่นเมื่อเดือนสิงหาคมผลิตภัณฑ์น้ำซุปเนื้อ Knorr Stock Pot จากบริษัท Unilever ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ได้ถูกเก็บออกจากชั้นวางในเมืองกุ้ยหยางและฉางชา เนื่องจากข้อมูลในฉลากระบุว่าผลิตภัณฑ์นี้อาจมีส่วนผสมของข้าวสาลี ถั่วเหลือง ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากปลา ซึ่งอาจทำให้สับสนและไม่มีความชัดเจน และคุณ Dong กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับฉลากบนบรรจุภัณฑ์อาหารและควรมีข้อความที่ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย โดยบริษัทผลิตอาหารควรเขียนเตือนใหม่ เพื่อให้ผู้แพ้ปลาระวังการบริโภคกับผลิตภัณฑ์นี้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.chinadaily.com.cn/china/2011-12/21/content_14298531.htm

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเวบไซต์     www.ifrpd-foodallergy.com

หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์  02-9428629-35 ต่อ 825

 




บทความน่ารู้ 1

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
การดูแล บำรุงรักษา ตู้น้ำหยอดเหรียญ ในช่วงการเกิด COVID-19
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินซี สามารถป้องกันโรคโควิด-19 จริงหรือ ?
รู้จัก "น้ำด่าง" ก่อนดื่ม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารช่วงเทศกาลกินเจ
3 วิธีง่ายๆลดสารพิษตกค้างในผักสด ผลไม้
ผงชูรส ชูร้าย
"วุ้นเส้น" พลังงานน้อยกว่าเส้นชนิดอื่นจริงหรือ?
ลดคอเลสเตอรอลป้องกันสารพัดโรค
สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) ทางเลือกที่ดีกว่า
โซเดียมแฝง
วิธีจัดการร้านอาหารปลอดไวรัส COVID-19
ปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมในเครื่องดื่มเกลือแร่
อะฟลาทอกซินในกระยาสารท
สารกันบูดในกานาฉ่าย
ส่งท้ายปี 2561 เลือกทานอาหารอย่างปลอดภัย (ตอน 2)
ไขมันอิ่มตัวกับไม่อิ่มตัว
เชื้อก่อโรคกับน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ
ฉลากโภชนาการประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม
เตือนภัยกิน “แมงลักแคปซูล” ลดอ้วนถึงตาย
เชื้อก่อโรคในน้ำสลัด
อย.เตือนระวังการบริโภค น้ำดื่ม น้ำแข็ง และไอศกรีม ช่วงหน้าร้อน
ตาสวยด้วยผักหวาน
ลูกเดือยธัญพืชดีๆ
เมนูปลาไทยกินกินดี
แอลฟา-แล็คตัลบูมิน
Health food for food
เติมสารอาหารให้อาหารด้วยไข่
Allergens to be listed on food labels