ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม

 อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม

ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 70% ซึ่งการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว จะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง บำรุงหัวใจ ชะลอวัย ผิวเด้งเต่งตึง ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ หน้าใสไร้สิว รวมไปถึงทำให้อารมณ์ดี สมองสดใส พร้อมเรียน พร้อมทำงาน มีประสิทธิภาพดีกว่ายาบำรุงหลายชนิดรวมกันเสียอีก ยิ่งดื่มเยอะยิ่งดีต่อร่างกาย

แต่ในน้ำใส ๆ ใครจะรู้ว่าปนเปื้อนอะไรอยู่ เรื่องคุณภาพของน้ำดื่มต้องใส่ใจพิเศษ หากบริโภคน้ำไม่สะอาดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายป่วย ซึ่งดูเหมือนจะให้โทษมากกว่าให้คุณประโยชน์ เพราะฉะนั้น การเลือกน้ำดื่มก็สำคัญไม่แพ้กับการดูแลสุขภาพในด้านอื่นๆ Chula Zero Waste จึง ขอให้ข้อมูลสารปนเปื้อนที่มักพบได้บ่อยในน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ซึ่งหากได้รับสารเหล่านี้มากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดจะทำให้ร่างกายเกิดอาการอย่างไร เพื่อสังเกตอาการ งดดื่มน้ำจากแหล่งน้ำนั้นและพบกับแพทย์ได้ทันท่วงที




การแสดงผลกรณีที่มีการปนเปื้อน ภาพ: bsmartsci



1.โคลิฟอร์ม (Coliform bacteria) เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบสามารถเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีอากาศและไม่มีอากาศ  มักพบในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องน้ำ ทั้งในดินและพืช มีอยู่ในร่างกายสัตว์เลือดอุ่น รวมถึงอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ แม้ว่าแบคทีเรียพวกนี้จะอยู่ในลำไส้ของพวกเรา แต่ก็เป็นเพียงบางส่วนหากพบว่ามีการเจือปนในน้ำดื่มมากเกินไปสามารถบ่งชี้ถึงความไม่สะอาดและไม่ถูกสุขลักษณะของแหล่งน้ำดื่มได้ โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ เป็นไข้ ปวดท้อง และท้องเสีย สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งแบคทีเรียโคลิฟอร์ม สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานกว่าจุลินทรีย์อื่นๆ แต่ไม่ทนความร้อน สามารถฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้โดยผ่านกระบวนการทำความร้อนในระดับพาสเจอไรซ์หรือระบบกรองน้ำที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถช่วยกำจัดหรือควบคุมปริมาณของแบคทีเรียให้พอเหมาะและสามารถดื่มน้ำได้อย่างปลอดภัย

2.อีโคไล (E.coli) หรือ Escherichia coli) เป็นหนึ่งในแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ มีหลากหลายสายพันธุ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับแบคทีเรียโคลิฟอร์ม โดยมีลักษณะอาการติดเชื้อคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด มีไข้ เพิ่มเติม คือ อาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารและอ่อนเพลีย ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดแบบฉับพลัน แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะอาการจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 5-10 วัน สำหรับบางรายที่โชคร้ายอาจมีอาการจัดอยู่ในกลุ่มฮีโมไลติกยูเลมิก (Hemolytic Uremic Syndrome: HUS) ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง ไตวาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทางที่ดีหากมีอาการไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

 

3.โลหะหนัก (Heavy Metal) คือ ธาตุที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำ 5 เท่า บางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายแต่บางชนิดก็เป็นพิษ และการนำสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายโดยการ “กิน” เป็นช่องทางที่นำเข้าสู่ร่างกายได้มากที่สุด สำหรับน้ำดื่ม สามารถปนเปื้อนได้จากภาชนะในขั้นตอนการผลิตน้ำดื่มหรือแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน โดยโลหะหนักที่พบได้ในน้ำดื่มได้แก่


-เหล็ก (Iron: Fe) เมื่อสะสมในร่างกายมากเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลด เลือดแข็งตัวช้า ตับเสื่อมสภาพ รวมไปถึงการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย

-ปรอท (Mercury: Hg) รูปแบบที่ทำให้เกิดความเป็นพิษมากกว่าปรอทที่อยู่ในรูปของโลหะ คือ methyl และ ethyl ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ระบบประสาทผิดปกติ ตามัว มองไม่ชัด ส่งผลต่อระบบความจำทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม

-แมงกานีส (Manganese: Mn) หากมีมากเกินความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เยื่อบุในระบบทางเดินอาหารอักเสบ ร้ายแรงที่สุด คือ ระบบประสาทถูกทำลายมีความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต

-ทองแดง (Copper: Cu) ถ้าร่างกายสะสมทองแดง มากกว่า 100 มิลลิกรัม จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน เม็ดเลือดแดงแตกตัว จนไปถึงยับยั้งการทำงานของตับ แค่มีทองแดงสะสมเพียง 25-30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ก็ทำให้ตับแข็งและเกิดอาการคลุ้มคลั่งได้ง่าย ๆ

 

ที่มา : http://www.chulazerowaste.chula.ac.th/contaminants-in-drinking-water/




บทความน่ารู้ 2

น้ำอัดลม Vs น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล)
อย. ตรวจพบน้ำแข็งหลอดย่านวัชรพล เลขสารบบอาหาร 10-1-05341-1-0001 พบเชื้อโคลิฟอร์ม และ อี.โคไล ระวังเสี่ยงท้องร่วง
รอบรู้เรื่องไข่ กินแล้วดีมีประโยชน์
แอฟลาทอกซิน สารพิษจากเชื้อราในอาหารแห้ง
เลือกบริโภคอย่างฉลาดด้วยฉลาก หวาน มัน เค็ม
อย. ตรวจพบกรดเบนโซอิกเกินค่าความปลอดภัย ในโบโลน่าแซนวิช
มารู้จักฟอร์มาลีนกันเถอะ
อย. เตือนระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนประกอบของกระท่อม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐาน ในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกกล้วยแช่แข็ง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยช่วงเทศกาลกินเจ
สารกันบูดในอาหาร
กรมวิทย์ฯ เผยผลตรวจอาหาร น้ำ และเครื่องดื่มจากอาศรมฤาษีพระบิดาที่ จ.ชัยภูมิ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในวุ้นเส้นสด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยน้ำมะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
กรมอนามัย เตือน กินปลาหมึกชอต ระวัง ‘แบคทีเรีย-พยาธิ’ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า
ทำความรู้จักอันตรายในอาหาร
กัญชา กัญชงที่ผลิตในประเทศ ส่วนไหนเป็น - ส่วนไหนไม่เป็นยาเสพติด
รับประทานซีอิ๊วขาวมีโซเดียมน้อยกว่าน้ำปลา จริงหรือ?
กัญชา VS กัญชง
โซเดียม
อย. แนะนำดื่มน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด
กาเฟอีน ปริมาณสูง อันตราย
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ศัตรูตัวร้าย แฝงอันตรายในน้ำใส
อย. เตือน "ซูชิเรืองแสง" อาจเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
บังคับใช้กฎหมาย"ไขมันทรานส์"ดีเดย์ 9ม.ค.62 ชาติแรกในอาเซียน
สารพิษโบทูลินัม และเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม ในน้ำปลา
สุ่มตรวจช็อกโกแลต พบสารปนเปื้อนตะกั่ว
เชื้อก่อโรคใน ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
ข้อมูลอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้สำหรับอาหารที่ไม่อยู่ในภาชนะบรรจุ
เชื้อก่อโรคในซูชิ
น้ำตาลที่ซ่อนอยู่
ขมิ้นขาวช่วยระบบย่อยไม่ดี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคงตัวของ Anthocyanin
ไอศกรีมโฮมเมด
เช็คสัญญาณอาหารหมดอายุ
สุดยอดอาหารเพื่อสมองปราดเปรื่อง
อะไรเอ๋ยอยู่ในน้ำ ?
ลดเสี่ยงติดเชื้อหน้าร้อน ยึดหลัก 'มีอยู่-เหลือรอด-ปนเปื้อนและเจริญของเชื้อโรค'
อาหารออร์แกนิค ,,,ดีจริงหรือ?