ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




โคราชสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุด

 โคราชสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุด

ผวา! อาหารทะเลร้านหมูกระทะ พบฟอร์มาลีนปนเปื้อนมากสุด อัปเดตสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ-ตลาดค้าส่ง 148 แห่งโคราช พบฟอร์มาลีน 70 ตัวอย่างจากทั้งหมด 459 ตัวอย่าง

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 งานอาหารปลอดภัย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้อัปเดตรายงานผลล่าสุด การสุ่มตรวจการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลินในอาหารสด ร้านหมูกระทะ และตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ช่วงวันที่ 9-13 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ร่วมกับสำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา  และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ  ออกสุ่มตรวจในพื้นที่ 22 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อำเภอแก้งสนามนาง  ขามสะแกแสง  ครบุรี  จักราช  เฉลิมพระเกียรติ  ชุมพวง โชคชัย  ด่านขุนทด  เทพารักษ์  โนนไทย  โนนสูง บัวลาย  บัวใหญ่  บ้านเหลื่อม  ประทาย  พระทองคำ  พิมาย  เมืองนครราชสีมา  สีคิ้ว  เสิงสาง  หนองบุญมาก  และอำเภอห้วยแถลง

 

โดยสุ่มสถานที่ตรวจ จำนวน 148 แห่ง  เก็บตัวอย่างทั้งหมด 459 ตัวอย่าง พบฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ จำนวน  70 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 15.25%  ซึ่งแยกเป็น  
1.สุ่มตรวจตลาดค้าส่ง 4 แห่ง เก็บตัวอย่างไป 31 ตัวอย่าง พบฟอร์มาลิน 4 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 12.90%
2.สุ่มตรวจตลาดสด 7 แห่ง เก็บตัวอย่างไป 85 ตัวอย่าง พบฟอร์มาลิน 4 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 04.70%
3. สุ่มตรวจตลาดนัด 13 แห่ง เก็บตัวอย่างไป 33 ตัวอย่าง พบฟอร์มาลิน 3 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 09.09%
4. สุ่มตรวจร้านหมูกระทะ 124 แห่ง เก็บตัวอย่างไป 310 ตัวอย่าง พบฟอร์มาลิน 59 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 19.03%   

และเมื่อวิเคราะห์หาการปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารสด เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ของเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2563-2565 ใน 4 จังหวัด “นครชัยบุรินทร์” พบว่า ช่วง 3 ปี จังหวัดนครราชสีมา มีการสุ่มตรวจมากสุด โดยตรวจตัวอย่างไป 3,107 ตัวอย่าง มี 2,851 ตัวอย่างที่ผลการตรวจผ่าน ไม่พบการปนเปื้อนของฟอร์มาลิน ส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตรวจตัวอย่าง 240  ตัวอย่าง มี 201 ตัวอย่างที่ผ่าน ไม่พบฟอร์มาลิน , จังหวัดบุรีรัมย์ ตรวจตัวอย่าง 526 ตัวอย่าง มี 446 ตัวอย่างที่ผ่าน ไม่พบฟอร์มาลิน และจังหวัดสุรินทร์ ตรวจตัวอย่าง 334 ตัวอย่าง มี 309 ตัวอย่างที่ผ่าน ไม่พบฟอร์มาลิน ซึ่งลำดับชนิดของตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีน ในปี 2565 มากสุดคือ ปลาหมึกกรอบ รองลงมาคือ ปลากหมึกสด  สไบนาง  กุ้ง  เล็บมือนาง และแมงกะพรุน 

ซึ่งร้านที่พบการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลิน ทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการหยุดจำหน่ายและให้เก็บอาหารนั้นออกจากจุดจำหน่ายทันที พร้อมกับแนะนำให้เปลี่ยนแหล่งซื้อใหม่ที่ปลอดภัย  นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ฯ จะบูรณาการขยายผลจากการตรวจร้านหมูกระทะ โดยออกตรวจตลาดค้าส่งที่เป็นแหล่งที่มาที่จำหน่ายอาหารสดมีสารฟอร์มาลินตกค้างให้กับร้านหมูกระทะ และส่งหนังสือแจ้งไปยังจังหวัดต้นทางแหล่งที่มาที่พบสารฟอร์มาลินตกค้างในอาหารสด เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป  

 

นอกจากนี้จะเร่งประชาสัมพันธ์ประชาชนให้รู้วิธีการเลือกซื้ออาหารสดอย่างปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร และจะดำเนินแผนการตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหารเป็นประจำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

ที่มา : https://www.one31.net/news/detail/59784

 




บทความน่ารู้ 3

เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
เสริมรู้...เรื่อง ผงชูรส..เสริมรส
โซเดียมในเครื่องปรุงรส เติมมากไป...ไตสะเทือน
ร้อนนี้ เลือกรับประทาน ไอศกรีม-น้ำแข็ง อย่างไร?
น้ำตาลเทียม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐานในผลิตภัณฑ์หนวดปลาหมึกแช่แข็ง รุ่นการผลิต 220511056H
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้เหมาะสม
คอลลาเจน มีดีที่อะไร
กรมวิทย์ฯ ตรวจเฝ้าระวังปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์
เตือนอาหารกระป๋องบวมบุบเป็นสนิม เสี่ยงมีเชื้อโบทูลินั่ม
“กาบา” สารอาหารในเมล็ดข้าว
คอเลสเทอรอลในน้ำพริกกากหมู
ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
น้ำปลาลดโซเดียม
ลดเค็มครึ่งหนึ่งคนไทยห่างไกลโรค
สารให้ความหวานในน้ำผลไม้ ใส่อะไร ใส่แค่ไหน ปลอดภัยกว่า
วิตามินซีในอาหารหรือเครื่องดื่มผสมวิตามินซี
กินอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโควิด-19
หวานน้อย...สั่งได้ ไม่เสียสุขภาพ
4 ผัก ผลไม้ ไฟเบอร์สูง
3 วิธีง่ายๆ ลดสารพิษตกค้าง ในผักสด ผลไม้
4 ข้อแนะนำ การจัดการน้ำบริโภค ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ข่าวปลอม !! บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง
แคดเมียมในพริกแกงเผ็ด
เชื้อก่อโรคในผักโขมสดนำเข้า
สารกันบูดกับขนมไหว้พระจันทร์
สารตกค้างในลำไยอบแห้ง
เกลือ (โซเดียมคลอไรด์)
ลอดช่องน้ำกะทิกับเชื้อก่อโรค
ดินประสิวกับกุนเชียง
ประกาศกระทรวงฉบับที่ 367
ประโยชน์มะตูมดียังไง
แอสต้าแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ
จิบแล้วเพรียว ดื่มแล้วพอแน่
อร่อยทุกมื้อไม่กลัวพุงป่อง
ช็อกโลก สำหรับคนชอบของหวาน
อันตรายจากสารปรอท
มารู้จักเทศกาลกินเจกันดีกว่า
คุณค่าโภชนาการอาหารออร์แกนิก