ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้เหมาะสม

 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้เหมาะสม


  “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” จัดเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมรับประทานมาอย่างยาวนาน เพราะราคาถูก สะดวก อร่อย เก็บไว้ได้นาน และมีหลากหลายรสชาติให้เลือก และอย่างที่รู้กันดีอยู่ว่า…การรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นประจำอาจไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเพราะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรืออาจได้รับโซเดียมมากเกินไป กลายเป็นโทษหรือเป็นโรคต่าง ๆ ที่ไม่ดีตามมาได้ แต่หากเรารับประทานอย่างเหมาะสมก็สามารถที่จะเป็นหนึ่งในอาหารที่มอบประโยชน์ให้กับร่างกายได้เช่นเดียวกัน

          บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ แป้ง ไขมัน และเครื่องปรุง ซึ่งพบว่าในเครื่องปรุงนั้นจะมีปริมาณโซเดียมสูง โดยปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นประจำ หรือบริโภคเกินวันละ 1 ซอง โดยไม่ลดการบริโภคโซเดียมที่ได้รับจากอาหารอื่นลง อาจทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย และหากใส่เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ซึ่งมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบเพิ่มเติม เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส ฯลฯ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจ มากขึ้น นอกจากนี้การบริโภคโดยที่ไม่ได้เติมไข่ ผัก และเนื้อสัตว์เพิ่มเข้าไปอาจทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้เช่นกัน

วิธีการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างเหมาะสม

- อ่านฉลากบนบรรจุภัณฑ์เสมอ เพราะฉลากโภชนาการจะบอกถึงปริมาณของสารอาหารที่ได้รับจากการรับประทานอาหารนั้น และควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการลดปริมาณโซเดียมน้อยกว่าสูตรปกติทั่วไป

- ควรใส่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ และผัก ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ แม้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบางชนิดจะมีผักหรือเนื้อสัตว์อบแห้งอยู่ในส่วนประกอบ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

- ไม่รับประทานบ่อยจนเกินไป หรือติดต่อกันเป็นประจำ โดยเฉพาะในเด็ก เพราะอาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารชนิดอื่นครบถ้วน ระยะยาวอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายเติบโตไม่เต็มที่




ที่มา : https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/2078?fbclid=IwAR0HH-2zd4wSFY4KIin3sx8ApACXA7Bgf5j02HJcsGm3_7S6-1F3mcaAvPA




บทความน่ารู้ 3

อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐานในผลิตภัณฑ์หนวดปลาหมึกแช่แข็ง รุ่นการผลิต 220511056H
โคราชสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุด
คอลลาเจน มีดีที่อะไร
กรมวิทย์ฯ ตรวจเฝ้าระวังปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์
เตือนอาหารกระป๋องบวมบุบเป็นสนิม เสี่ยงมีเชื้อโบทูลินั่ม
“กาบา” สารอาหารในเมล็ดข้าว
คอเลสเทอรอลในน้ำพริกกากหมู
ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
น้ำปลาลดโซเดียม
ลดเค็มครึ่งหนึ่งคนไทยห่างไกลโรค
สารให้ความหวานในน้ำผลไม้ ใส่อะไร ใส่แค่ไหน ปลอดภัยกว่า
วิตามินซีในอาหารหรือเครื่องดื่มผสมวิตามินซี
กินอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโควิด-19
หวานน้อย...สั่งได้ ไม่เสียสุขภาพ
4 ผัก ผลไม้ ไฟเบอร์สูง
3 วิธีง่ายๆ ลดสารพิษตกค้าง ในผักสด ผลไม้
4 ข้อแนะนำ การจัดการน้ำบริโภค ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ข่าวปลอม !! บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง
แคดเมียมในพริกแกงเผ็ด
เชื้อก่อโรคในผักโขมสดนำเข้า
สารกันบูดกับขนมไหว้พระจันทร์
สารตกค้างในลำไยอบแห้ง
เกลือ (โซเดียมคลอไรด์)
ลอดช่องน้ำกะทิกับเชื้อก่อโรค
ดินประสิวกับกุนเชียง
ประกาศกระทรวงฉบับที่ 367
ประโยชน์มะตูมดียังไง
แอสต้าแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ
จิบแล้วเพรียว ดื่มแล้วพอแน่
อร่อยทุกมื้อไม่กลัวพุงป่อง
ช็อกโลก สำหรับคนชอบของหวาน
อันตรายจากสารปรอท
มารู้จักเทศกาลกินเจกันดีกว่า
คุณค่าโภชนาการอาหารออร์แกนิก