ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




อย. เตือนระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนประกอบของกระท่อม

 อย. เตือนระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนประกอบของกระท่อม


อย.เตือน บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนประกอบของกระท่อมด้วยความระมัดระวัง ต้องอ่านฉลากและข้อความคำเตือน เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรบริโภค

นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวผู้บริโภคในต่างประเทศเสียชีวิตหลังใช้น้ำกระท่อมสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เนื่องจากได้รับสารไมตราไจนีนในปริมาณสูงมากจนเกินปริมาณที่ปลอดภัยนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใย เนื่องจากพืชกระท่อมมีสารไมตราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งเป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และอาจนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่นิยมบริโภคเพื่อเสริมสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเม็ด เกล็ด ผง แคปซูล ของเหลว หรือรูปแบบอื่น ๆ ใช้รับประทานเสริมจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ เพื่อคาดหวังประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่มีสุขภาพปกติแต่ไม่สามารถรับประทานอาหารหลักได้ครบ ไม่ใช่สำหรับผู้ป่วย จึงไม่มีผลในทางบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค อาการข้างเคียงที่พบคือ จะทำให้เกิดใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ประสาทหลอน กระสับกระส่าย เป็นต้น ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ปัจจุบันสามารถนำกระท่อมมายื่นขออนุญาต อย. เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรืออาหาร ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้และปริมาณที่ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ หากผู้จำหน่ายมีเจตนาเพื่อให้เกิดผลด้านสรรพคุณบรรเทา บำบัด รักษาโรค หรือเพื่อเกิดผลต่อสุขภาพ หรือการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น เสริมสร้างโครงสร้าง หรือการทำงานของร่างกาย ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค จะเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งหากผู้จำหน่ายมีเจตนาให้บริโภคเพื่อค้ำจุนชีวิต ผลิตภัณฑ์นั้นต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยอาหารใหม่ และได้รับเลขสารบบอาหารอย่างถูกต้องจึงจะจำหน่ายได้

ทั้งนี้ การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของกระท่อมอย่างปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประเมินความปลอดภัย และได้รับอนุญาตถูกต้อง โดยสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร ปฏิบัติตามคำแนะนำในการบริโภค (ไม่บริโภคมากเกินไป) และปฏิบัติตามข้อความคำเตือนบนฉลาก เช่น “ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน” และ “ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 7 วัน” เป็นต้น รวมทั้ง อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ ต่อสุขภาพในทางบำบัด รักษา ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบการได้รับอนุญาตได้จากเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line @FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

 

ที่มา : https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2374




บทความน่ารู้ 2

น้ำอัดลม Vs น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล)
อย. ตรวจพบน้ำแข็งหลอดย่านวัชรพล เลขสารบบอาหาร 10-1-05341-1-0001 พบเชื้อโคลิฟอร์ม และ อี.โคไล ระวังเสี่ยงท้องร่วง
รอบรู้เรื่องไข่ กินแล้วดีมีประโยชน์
แอฟลาทอกซิน สารพิษจากเชื้อราในอาหารแห้ง
เลือกบริโภคอย่างฉลาดด้วยฉลาก หวาน มัน เค็ม
อย. ตรวจพบกรดเบนโซอิกเกินค่าความปลอดภัย ในโบโลน่าแซนวิช
อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม
มารู้จักฟอร์มาลีนกันเถอะ
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐาน ในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกกล้วยแช่แข็ง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยช่วงเทศกาลกินเจ
สารกันบูดในอาหาร
กรมวิทย์ฯ เผยผลตรวจอาหาร น้ำ และเครื่องดื่มจากอาศรมฤาษีพระบิดาที่ จ.ชัยภูมิ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในวุ้นเส้นสด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยน้ำมะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
กรมอนามัย เตือน กินปลาหมึกชอต ระวัง ‘แบคทีเรีย-พยาธิ’ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า
ทำความรู้จักอันตรายในอาหาร
กัญชา กัญชงที่ผลิตในประเทศ ส่วนไหนเป็น - ส่วนไหนไม่เป็นยาเสพติด
รับประทานซีอิ๊วขาวมีโซเดียมน้อยกว่าน้ำปลา จริงหรือ?
กัญชา VS กัญชง
โซเดียม
อย. แนะนำดื่มน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด
กาเฟอีน ปริมาณสูง อันตราย
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ศัตรูตัวร้าย แฝงอันตรายในน้ำใส
อย. เตือน "ซูชิเรืองแสง" อาจเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
บังคับใช้กฎหมาย"ไขมันทรานส์"ดีเดย์ 9ม.ค.62 ชาติแรกในอาเซียน
สารพิษโบทูลินัม และเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม ในน้ำปลา
สุ่มตรวจช็อกโกแลต พบสารปนเปื้อนตะกั่ว
เชื้อก่อโรคใน ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
ข้อมูลอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้สำหรับอาหารที่ไม่อยู่ในภาชนะบรรจุ
เชื้อก่อโรคในซูชิ
น้ำตาลที่ซ่อนอยู่
ขมิ้นขาวช่วยระบบย่อยไม่ดี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคงตัวของ Anthocyanin
ไอศกรีมโฮมเมด
เช็คสัญญาณอาหารหมดอายุ
สุดยอดอาหารเพื่อสมองปราดเปรื่อง
อะไรเอ๋ยอยู่ในน้ำ ?
ลดเสี่ยงติดเชื้อหน้าร้อน ยึดหลัก 'มีอยู่-เหลือรอด-ปนเปื้อนและเจริญของเชื้อโรค'
อาหารออร์แกนิค ,,,ดีจริงหรือ?