ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




เตือนอาหารกระป๋องบวมบุบเป็นสนิม เสี่ยงมีเชื้อโบทูลินั่ม

 

 เตือนอาหารกระป๋องบวมบุบเป็นสนิม เสี่ยงมีเชื้อโบทูลินั่ม

กรมอนามัย เตือนผู้บริโภคอาหารกระป๋องให้สังเกตเครื่องหมาย อย. วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ รวมถึงสังเกตลักษณะกระป๋องต้องไม่บุบ ไม่บวมและไม่เป็นสนิม ซึ่งอาจทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

 

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า ปัจจุบันประชาชนนิยมบริโภคอาหารกระป๋อง ไม่ว่าจะเป็นอาหารปรุงสำเร็จบรรจุกระป๋อง ผลไม้และน้ำผลไม้ รวมถึงเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย ซึ่งก่อนเลือกซื้อควรอ่านฉลากข้างกระป๋องให้ละเอียด โดยต้องมีเลขสารระบบอาหารในเครื่องหมาย อย. (เลข 13 หลัก) สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ รวมถึงลักษณะของกระป๋องจะต้องไม่บวม ไม่บุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม และตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่วหรือเป็นสนิม และเมื่อเปิดกระป๋องให้สังเกตว่ามีสีหรือกลิ่นผิดปกติจากเดิมหรือไม่ หรือหากพบสิ่งปลอมปนให้รีบนำไปให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตรวจสอบ

 

อธิบดีกรมอนามัย กล่าวอีกว่า อาหารกระป๋องที่บวมหรือบุบบู้บี้ และตะเข็บกระป๋องมีรอยรั่วหรือเป็นสนิม อาจทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสี กลิ่น รสและคุณค่าของอาหาร โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดโบทูลินั่ม ซึ่งจะสร้างสารพิษโบทูลินั่มที่ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง หากรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อต่างๆ สายตาพร่ามองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึม ง่วง กลืนอาหารไม่สะดวก ลิ้นและคออักเสบ กล้ามเนื้อต้นคออ่อนแรงจนยกหัวไหล่ไม่ขึ้น โดยจะแสดงอาการให้เห็นภายใน 2-4 ชั่วโมง ในบางรายอาจใช้เวลานานถึง 12-36 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันทีอาจเสียชีวิตด้วยระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

ก่อนรับประทานอาหารกระป๋องทุกครั้งต้องอุ่นด้วยความร้อนให้เดือด ห้ามอุ่นอาหารทั้งกระป๋องโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายจากสารเคลือบหรือสารโลหะที่จะละลายปนมาในอาหาร ส่วนอาหารกระป๋องที่เปิดแล้วหากรับประทานไม่หมด ต้องถ่ายใส่ภาชนะอื่นที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและควรเก็บในตู้เย็น”

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/268463




บทความน่ารู้ 3

เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
เสริมรู้...เรื่อง ผงชูรส..เสริมรส
โซเดียมในเครื่องปรุงรส เติมมากไป...ไตสะเทือน
ร้อนนี้ เลือกรับประทาน ไอศกรีม-น้ำแข็ง อย่างไร?
น้ำตาลเทียม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐานในผลิตภัณฑ์หนวดปลาหมึกแช่แข็ง รุ่นการผลิต 220511056H
โคราชสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุด
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้เหมาะสม
คอลลาเจน มีดีที่อะไร
กรมวิทย์ฯ ตรวจเฝ้าระวังปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์
“กาบา” สารอาหารในเมล็ดข้าว
คอเลสเทอรอลในน้ำพริกกากหมู
ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
น้ำปลาลดโซเดียม
ลดเค็มครึ่งหนึ่งคนไทยห่างไกลโรค
สารให้ความหวานในน้ำผลไม้ ใส่อะไร ใส่แค่ไหน ปลอดภัยกว่า
วิตามินซีในอาหารหรือเครื่องดื่มผสมวิตามินซี
กินอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโควิด-19
หวานน้อย...สั่งได้ ไม่เสียสุขภาพ
4 ผัก ผลไม้ ไฟเบอร์สูง
3 วิธีง่ายๆ ลดสารพิษตกค้าง ในผักสด ผลไม้
4 ข้อแนะนำ การจัดการน้ำบริโภค ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ข่าวปลอม !! บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง
แคดเมียมในพริกแกงเผ็ด
เชื้อก่อโรคในผักโขมสดนำเข้า
สารกันบูดกับขนมไหว้พระจันทร์
สารตกค้างในลำไยอบแห้ง
เกลือ (โซเดียมคลอไรด์)
ลอดช่องน้ำกะทิกับเชื้อก่อโรค
ดินประสิวกับกุนเชียง
ประกาศกระทรวงฉบับที่ 367
ประโยชน์มะตูมดียังไง
แอสต้าแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ
จิบแล้วเพรียว ดื่มแล้วพอแน่
อร่อยทุกมื้อไม่กลัวพุงป่อง
ช็อกโลก สำหรับคนชอบของหวาน
อันตรายจากสารปรอท
มารู้จักเทศกาลกินเจกันดีกว่า
คุณค่าโภชนาการอาหารออร์แกนิก