ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




คอเลสเทอรอลในน้ำพริกกากหมู

 คอเลสเทอรอลในน้ำพริกกากหมู

น้ำพริกกากหมู อาหารแบบไทยๆที่มีรสหวาน เค็ม เผ็ดกำลังดี และกากหมูกรอบๆที่อร่อยลิ้น เป็นที่ชื่นชอบของคนไทยหลายๆคน ยิ่งถ้าทานกับข้าวสวยร้อนๆ ยิ่งเอร็ดอร่อย อย่าบอกใคร กากหมูทำมาจากมันหมูแข็งที่นำมาทอดให้กรอบ แน่นอนว่าในกากหมูจึงมีทั้งไขมัน พลังงาน และคอเลสเทอรอลปริมาณสูง คอเลสเทอรอลเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ตาม Thai RDI หรือสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป แนะนำให้ทานอาหารที่มีคอเลสเทอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หากทานอาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูง เช่น กากหมู ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบ่อยๆ จะทำให้มีคอเลสเทอรอลโดยเฉพาะคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดี (LDL) สะสมในหลอดเลือด และทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ยาก ถ้าสะสมในหลอดเลือดที่ส่งเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และหากสะสมในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง จะทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน

 

 

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำพริกกากหมูจำนวน 5 ตัวอย่าง ที่วางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เกต และร้านค้าออนไลน์ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณคอเลสเทอรอล พบว่าน้ำพริกกากหมูทั้ง 5 ตัวอย่างมีคอเลสเทอรอลอยู่ในช่วง 46.81- 342.55 มิลลิกรัมต่อกระปุก/กล่อง เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว ประเมินได้ว่าหากทานน้ำพริกกากหมู 1 กระปุก (หนักไม่เกิน 280 กรัม) จะได้รับคอเลสเทอรอลปริมาณไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน ตามคำแนะนำของ Thai RDI แต่ถ้าใน 1 วัน ทานน้ำพริกกากหมูมากกว่านี้ อาจได้รับคอเลสเทอรอลเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวันได้ เพราะอย่าลืมว่าในหนึ่งวันเราได้รับคอเลสเทอรอลจากอาหารอื่นๆ ที่เราทานอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลบทความจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/2402961




บทความน่ารู้ 3

เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
เสริมรู้...เรื่อง ผงชูรส..เสริมรส
โซเดียมในเครื่องปรุงรส เติมมากไป...ไตสะเทือน
ร้อนนี้ เลือกรับประทาน ไอศกรีม-น้ำแข็ง อย่างไร?
น้ำตาลเทียม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐานในผลิตภัณฑ์หนวดปลาหมึกแช่แข็ง รุ่นการผลิต 220511056H
โคราชสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุด
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้เหมาะสม
คอลลาเจน มีดีที่อะไร
กรมวิทย์ฯ ตรวจเฝ้าระวังปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์
เตือนอาหารกระป๋องบวมบุบเป็นสนิม เสี่ยงมีเชื้อโบทูลินั่ม
“กาบา” สารอาหารในเมล็ดข้าว
ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
น้ำปลาลดโซเดียม
ลดเค็มครึ่งหนึ่งคนไทยห่างไกลโรค
สารให้ความหวานในน้ำผลไม้ ใส่อะไร ใส่แค่ไหน ปลอดภัยกว่า
วิตามินซีในอาหารหรือเครื่องดื่มผสมวิตามินซี
กินอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโควิด-19
หวานน้อย...สั่งได้ ไม่เสียสุขภาพ
4 ผัก ผลไม้ ไฟเบอร์สูง
3 วิธีง่ายๆ ลดสารพิษตกค้าง ในผักสด ผลไม้
4 ข้อแนะนำ การจัดการน้ำบริโภค ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ข่าวปลอม !! บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง
แคดเมียมในพริกแกงเผ็ด
เชื้อก่อโรคในผักโขมสดนำเข้า
สารกันบูดกับขนมไหว้พระจันทร์
สารตกค้างในลำไยอบแห้ง
เกลือ (โซเดียมคลอไรด์)
ลอดช่องน้ำกะทิกับเชื้อก่อโรค
ดินประสิวกับกุนเชียง
ประกาศกระทรวงฉบับที่ 367
ประโยชน์มะตูมดียังไง
แอสต้าแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ
จิบแล้วเพรียว ดื่มแล้วพอแน่
อร่อยทุกมื้อไม่กลัวพุงป่อง
ช็อกโลก สำหรับคนชอบของหวาน
อันตรายจากสารปรอท
มารู้จักเทศกาลกินเจกันดีกว่า
คุณค่าโภชนาการอาหารออร์แกนิก