ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

 

 ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในแต่ละยี่ห้อ แต่ละรสชาติ

จะมีปริมาณโซเดียมอยู่ที่เท่าไหร่

 

ในยุค Covid-19 ถือเป็นยุคที่คนส่วนใหญ่ จะมีปัญหาทางด้านการเงินมากที่สุดยุคหนึ่งเลยก็ว่าได้ และ เมื่อมีปัญหาทางด้านการเงิน สิ่งที่ตามมาก็คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

เพราะถือเป็นอาหารหลักของใครหลาย ๆ คน ในยุคที่การเงินขัดสน รายได้หดหาย แต่ การดำรงชีพยังต้องมีอยู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะขายได้ดี ถึงดีมาก ก็ตอนนี้แหละ ใคร ๆ ก็รู้ แต่ปัญหาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็คือ เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงมาก ซึ่งการรับประทานโซเดียมที่สูงเกินความจำเป็น จะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้รับประทาน ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ โรคต่าง ๆ จะถามหา เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการ มีเพียงแค่ 1,500 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น และ ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจะไม่ส่งผลอันตรายมากต่อร่างกาย คราวนี้ เรามาดูกันซิว่า ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในแต่ละยี่ห้อ แต่ละรสชาติ จะมาปริมาณโซเดียมอยู่ที่เท่าไหร่

 


ที่มา : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (www.Chaladsue.com)

 

จะเห็นได้ว่าปริมาณโซเดียมมีตั้งแต่น้อยสุดต่อถ้วยอยู่ที่ 700 มิลลิกรัม และสูงสุดเกินมาตรฐานอยู่ที่ถ้วยละ 2,340 มิลลิกรัม เลยทีเดียว แต่ก็อะนะ ยิ่งโซเดียมเยอะยิ่งอร่อย (ความคิดเห็นส่วนตัว) 

คำแนะนำ ในการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อให้ได้ปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดเพื่อสุขภาพ ก็คือ ไม่ใส่เครื่องปรุงเลย หรือ พยายามใส่ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ และไม่ซดน้ำซุปจนหมด เพราะนั่นคือการซดเกลือเข้าไปดี ๆ นั่นเอง หรือ อีกอย่างนึงก็คือ ฉลาดซื้อ เลือกยี่ห้อที่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ "ทางเลือกเพื่อสุขภาพ"

เห็นแบบนี้แล้ว ก็น่ากลัวนะครับ ปริมาณมันมากจริง ๆ เลี่ยงได้ก็อยากให้เลี่ยงจริง ๆ เพราะในแต่ละวัน แต่ละมื้อเราก็คงรับปริมาณโซเดียมกันมาพออยู่แล้ว ถ้ารับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จเข้าอีกในแต่ละวัน คงมีปริมาณเกินแน่ ๆ

 

ฉะนั้น ยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ ก็คงต้องพึ่งพาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแหละ แต่พยายามอย่ารับประทานมาก หาอย่างอื่นทดแทน หรือ เลือกแบบที่มีโซเดียมน้อยที่สุดก็จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://home.maefahluang.org/17674972/sodium




บทความน่ารู้ 3

โซเดียมในเครื่องปรุงรส เติมมากไป...ไตสะเทือน
ร้อนนี้ เลือกรับประทาน ไอศกรีม-น้ำแข็ง อย่างไร?
น้ำตาลเทียม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐานในผลิตภัณฑ์หนวดปลาหมึกแช่แข็ง รุ่นการผลิต 220511056H
โคราชสุ่มตรวจร้านหมูกระทะ พบปลาหมึกกรอบปนเปื้อนฟอร์มาลินมากที่สุด
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กินอย่างไรให้เหมาะสม
คอลลาเจน มีดีที่อะไร
กรมวิทย์ฯ ตรวจเฝ้าระวังปริมาณไนเตรทและไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์
เตือนอาหารกระป๋องบวมบุบเป็นสนิม เสี่ยงมีเชื้อโบทูลินั่ม
“กาบา” สารอาหารในเมล็ดข้าว
คอเลสเทอรอลในน้ำพริกกากหมู
น้ำปลาลดโซเดียม
ลดเค็มครึ่งหนึ่งคนไทยห่างไกลโรค
สารให้ความหวานในน้ำผลไม้ ใส่อะไร ใส่แค่ไหน ปลอดภัยกว่า
วิตามินซีในอาหารหรือเครื่องดื่มผสมวิตามินซี
กินอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโควิด-19
หวานน้อย...สั่งได้ ไม่เสียสุขภาพ
4 ผัก ผลไม้ ไฟเบอร์สูง
3 วิธีง่ายๆ ลดสารพิษตกค้าง ในผักสด ผลไม้
4 ข้อแนะนำ การจัดการน้ำบริโภค ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ข่าวปลอม !! บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง
แคดเมียมในพริกแกงเผ็ด
เชื้อก่อโรคในผักโขมสดนำเข้า
สารกันบูดกับขนมไหว้พระจันทร์
สารตกค้างในลำไยอบแห้ง
เกลือ (โซเดียมคลอไรด์)
ลอดช่องน้ำกะทิกับเชื้อก่อโรค
ดินประสิวกับกุนเชียง
ประกาศกระทรวงฉบับที่ 367
ประโยชน์มะตูมดียังไง
แอสต้าแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ
จิบแล้วเพรียว ดื่มแล้วพอแน่
อร่อยทุกมื้อไม่กลัวพุงป่อง
ช็อกโลก สำหรับคนชอบของหวาน
อันตรายจากสารปรอท
มารู้จักเทศกาลกินเจกันดีกว่า
คุณค่าโภชนาการอาหารออร์แกนิก