ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




กรมอนามัย เตือน กินปลาหมึกชอต ระวัง ‘แบคทีเรีย-พยาธิ’ แนะปรุงสุกทุกครั้งปลอดภัยกว่า

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือน กินปลาหมึกชอต แบบดิบๆ

ระวัง “แบคทีเรีย-พยาธิ”แนะใช้ความร้อนให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง

ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ

 

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลังจากมีกระแสในการกิน “ปลาหมึกชอต” คือการนำปลาหมึกตัวเล็ก สด ๆ เอาหัวจุ่มลงไปในแก้วที่บรรจุน้ำจิ้ม เพื่อให้หมึกดูดเอาน้ำจิ้มซีฟู้ดเข้าตัว จากนั้นกินปลาหมึกโดยกัดส่วนหัว แล้วค่อยกัดหรือหั่นส่วนลำตัวกินต่อ หรือหากปลาหมึกตัวเล็กพอ ก็อาจจะเอาเข้าปากกินทั้งตัวนั้น ซึ่งพฤติกรรมการกินดังกล่าวอาจจะเสี่ยงได้รับเชื้ออหิวาต์เทียม หรือ Vibrio parahaemolyticus ที่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ตามโคลนตมในทะเลหรือตามชายฝั่งต่าง ๆ เมื่อกินสัตว์ทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการอาหารเป็นพิษ หากรุนแรงมาก ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้อีกด้วย นอกจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว ปลาหมึกหรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หรือหอย ก็อาจจะมีพยาธิอาศัยอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวกลม ในกลุ่มพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis spp.) พยาธิตัวตืดในกลุ่มพยาธิตืดปลา (Diphyllobothrium) เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่น และเขตร้อน ซึ่งในประเทศไทยตรวจพบตัวอ่อน   ของพยาธิชนิดนี้ในปลามากกว่า 20 ชนิด ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับพยาธิ มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด คล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร บางรายอาจมีอาการท้องเสีย หรือถ้ามีแผลในกระเพาะขนาดใหญ่ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด รวมถึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายอื่น ๆ เช่น เข้าไปอาศัยตามกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดผื่นคัน ปวดบวมบริเวณผิวหนัง หรือเข้าไปชอนไชทำลายอวัยวะภายใน ทำให้เลือดออกในช่องท้อง หรือเนื้อเยื่อ หรือในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น คือ การไชเข้าสมองก่อให้เกิดอาการเลือดออกในสมองสมองอักเสบ และส่งผลเสียกับร่างกายในระยะยาวได้

 

ทั้งนี้ การป้องกันพยาธิหรือไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หากปรุงประกอบอาหารเอง ก่อนนำวัตถุดิบมาปรุง ต้องล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมีตกค้าง และต้องปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อนอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส นาน 2 นาที เพื่อให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง รวมทั้งควรเลือกซื้ออาหารจากร้านอาหาร ควรสังเกตป้ายสัญลักษณ์ “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” หรือ Clean Food Good Taste ที่กรมอนามัยรับรอง เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความสะอาดปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภคที่สำคัญยึดหลักกินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว ล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย




บทความน่ารู้ 2

รอบรู้เรื่องไข่ กินแล้วดีมีประโยชน์
แอฟลาทอกซิน สารพิษจากเชื้อราในอาหารแห้ง
เลือกบริโภคอย่างฉลาดด้วยฉลาก หวาน มัน เค็ม
อย. ตรวจพบกรดเบนโซอิกเกินค่าความปลอดภัย ในโบโลน่าแซนวิช
อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม
มารู้จักฟอร์มาลีนกันเถอะ
อย. เตือนระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนประกอบของกระท่อม
อย. ตรวจพบปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐาน ในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกกล้วยแช่แข็ง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยช่วงเทศกาลกินเจ
สารกันบูดในอาหาร
กรมวิทย์ฯ เผยผลตรวจอาหาร น้ำ และเครื่องดื่มจากอาศรมฤาษีพระบิดาที่ จ.ชัยภูมิ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในวุ้นเส้นสด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยน้ำมะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ทำความรู้จักอันตรายในอาหาร
กัญชา กัญชงที่ผลิตในประเทศ ส่วนไหนเป็น - ส่วนไหนไม่เป็นยาเสพติด
รับประทานซีอิ๊วขาวมีโซเดียมน้อยกว่าน้ำปลา จริงหรือ?
กัญชา VS กัญชง
โซเดียม
อย. แนะนำดื่มน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด
กาเฟอีน ปริมาณสูง อันตราย
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ศัตรูตัวร้าย แฝงอันตรายในน้ำใส
อย. เตือน "ซูชิเรืองแสง" อาจเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
บังคับใช้กฎหมาย"ไขมันทรานส์"ดีเดย์ 9ม.ค.62 ชาติแรกในอาเซียน
สารพิษโบทูลินัม และเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม ในน้ำปลา
สุ่มตรวจช็อกโกแลต พบสารปนเปื้อนตะกั่ว
เชื้อก่อโรคใน ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
ข้อมูลอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้สำหรับอาหารที่ไม่อยู่ในภาชนะบรรจุ
เชื้อก่อโรคในซูชิ
น้ำตาลที่ซ่อนอยู่
ขมิ้นขาวช่วยระบบย่อยไม่ดี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคงตัวของ Anthocyanin
ไอศกรีมโฮมเมด
เช็คสัญญาณอาหารหมดอายุ
สุดยอดอาหารเพื่อสมองปราดเปรื่อง
อะไรเอ๋ยอยู่ในน้ำ ?
ลดเสี่ยงติดเชื้อหน้าร้อน ยึดหลัก 'มีอยู่-เหลือรอด-ปนเปื้อนและเจริญของเชื้อโรค'
อาหารออร์แกนิค ,,,ดีจริงหรือ?