ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
ขั้นตอนการขอรับบริการกับ FQA
อัตราค่าธรรมเนียม การตรวจวิเคราะห์
วิธีการชำระเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ
dot
dot
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Food Allergen
Link ภายนอกที่น่าสนใจ
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ
ศูนย์วิทยบริการ




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารช่วงเทศกาลกินเจ

 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารช่วงเทศกาลกินเจ

 

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจเฝ้าระวังอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลกินเจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2564 ได้มีการเฝ้าระวังทั้งปี โดยแบ่งอาหารเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ อาหารประเภทเส้น และผักผลไม้สดจากตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลรวมจำนวน 93 ตัวอย่าง  ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า

        อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ เช่น เป็ดเจ หมูสามชั้นเจ ลูกชิ้น ปลาเค็ม ไส้กรอก จำนวน 57 ตัวอย่าง ตรวจพบ ดีเอ็นเอ (DNA) ของเนื้อสัตว์ปนเปื้อน จำนวน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.5

        อาหารประเภทเส้น เช่น วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ จำนวน 15 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบ กรดซอร์บิก ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหารประเภทนี้ แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิก จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 60 ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 304-855 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก เป็นวัตถุกันเสียที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ มีความเป็นพิษต่ำ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงมากอาจทำให้เกิดอันตรายได้สำหรับผู้แพ้สารนี้ เช่น เกิดผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น

        ผักและผลไม้สด เช่น คะน้า ขึ้นฉ่าย ถั่วฝักยาว แครอท มะเขือเทศ ส้ม แอปเปิ้ล มันญี่ปุ่น จำนวน 21 ตัวอย่าง ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในส้มและแอปเปิ้ล จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.8

 

            นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่ออีกว่า การกินเจเพื่อให้มีสุขภาพดี ควรรับประทานอาหารที่สะอาดปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ รับประทานอาหารเจให้หลากหลายชนิด และปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรซื้ออาหารมาเก็บไว้นานๆ หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารนั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนรับประทาน สำหรับการรับประทานอาหารเจที่เลียนแบบเนื้อสัตว์ ผู้บริโภคหรือผู้ปรุงอาหารควรเลือกซื้อวัตถุดิบจากร้านที่เชื่อถือได้ และควรมีฉลากระบุสถานที่ผลิต วันเดือนปี และเครื่องหมาย อย.หรือเลขสารระบบอาหารที่ชัดเจน เพราะถ้าแหล่งผลิตไม่ได้มาตรฐานบางครั้งอาจมีส่วนประกอบ เช่น ไข่ นม หรือเนื้อสัตว์ปนเปื้อน ส่วนผักและผลไม้สด ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนรับประทานหรือนำมาปรุงอาหาร เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคและได้รับความสุขทั้งกายและใจตลอดช่วงเทศกาลกินเจปีนี้

ที่มา : https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1322




บทความน่ารู้ 1

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
การดูแล บำรุงรักษา ตู้น้ำหยอดเหรียญ ในช่วงการเกิด COVID-19
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินซี สามารถป้องกันโรคโควิด-19 จริงหรือ ?
รู้จัก "น้ำด่าง" ก่อนดื่ม
3 วิธีง่ายๆลดสารพิษตกค้างในผักสด ผลไม้
ผงชูรส ชูร้าย
"วุ้นเส้น" พลังงานน้อยกว่าเส้นชนิดอื่นจริงหรือ?
ลดคอเลสเตอรอลป้องกันสารพัดโรค
สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) ทางเลือกที่ดีกว่า
โซเดียมแฝง
วิธีจัดการร้านอาหารปลอดไวรัส COVID-19
ปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมในเครื่องดื่มเกลือแร่
อะฟลาทอกซินในกระยาสารท
สารกันบูดในกานาฉ่าย
ส่งท้ายปี 2561 เลือกทานอาหารอย่างปลอดภัย (ตอน 2)
ไขมันอิ่มตัวกับไม่อิ่มตัว
เชื้อก่อโรคกับน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ
ฉลากโภชนาการประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม
เตือนภัยกิน “แมงลักแคปซูล” ลดอ้วนถึงตาย
เชื้อก่อโรคในน้ำสลัด
อย.เตือนระวังการบริโภค น้ำดื่ม น้ำแข็ง และไอศกรีม ช่วงหน้าร้อน
ตาสวยด้วยผักหวาน
ลูกเดือยธัญพืชดีๆ
เมนูปลาไทยกินกินดี
แอลฟา-แล็คตัลบูมิน
Health food for food
เติมสารอาหารให้อาหารด้วยไข่
Allergens to be listed on food labels
สารก่อภูมิแพ้ที่ระบุบนฉลากอาหาร article